โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 72 – การวัดผลความดันโลหิต (1)

คุณผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า มีสิ่งที่มากมายเกิดขึ้นกับร่างกายเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)  เช่น ความสัมพันธ์กับความเสี่ยง (Risk) ต่อสุขภาพโดยขึ้นอยู่กับ (Dependent) ปริมาณ (Dose) ของยาที่ใช้ ยิ่งมีความดันสูง ผลลัพธ์ (Outcome) ก็ยิ่งแย่ลง แต่โชคดีที่การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดง (Artery) ใช้เวลานานในการวิวัฒนา

แม้กระนั้น มันอาจเริ่มต้นได้เร็ว (Early) ก้อนไขมันเล็กๆ คือเนื้อเยื่อตั้งต้น (Precursor) ของตะกอน (Plaque) ซึ่งอยู่ในเด็กเกือบ (Virtually) ทุกคนที่มีอายุมากกว่า 10 ขวบ ความจริงที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อายุน้อย และการวิวัฒนา (Progression) เกิดขึ้นในระยะยาว ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพมีหน้าต่าง (Window) [แห่งโอกาส] ในการตรวจจับโรคความดันโลหิตสูงได้ในช่วงเริ่มต้น โดยมีเป้าหมายในการหยุด (Halt) วิวัฒนาการของโรคและ จำกัด (Limit) ภาวะแทรกซ้อน (Complication) ในอนาคต

ถ้าสถานการณ์เงียบสงบ เราอาจจะไม่รู้ว่ามีปัญหาอยู่ สิ่งเดียวกันนี้เป็นจริงที่เกิดขึ้นกับโรคความดันโลหิตสูง เในสหรัฐอเมริกา 16% ของผู้ใหญ่ที่มีโรคความดันโลหิตสูงไม่รู้ตัว (Unaware) ว่าตนเองเป็นโรค สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุน้อย [Young adult] (31°+) และผู้ที่ไม่มีประกันสุขภาพ [Health insurance] (30%) มีโอกาสสูงที่จะไม่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ (Routine)

ประชากร (Population) กลุ่มนี้ จึงมักไม่ได้รับการตรวจวัด (Measure) ความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ แม้จะมีคำแนะนำให้ตรวจวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ (Doctor visit) หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากความดันโลหิตต่ำกว่า 120/50 ตั้งแต่อายุ 20 ปี เป็นต้นไป

ไม่มีข้อเสีย (Downside) หรือความเสี่ยงในการรับการตรวจบ่อยขึ้น (Frequent) ขอแนะนำว่า ไม่จำเป็นต้องทำในคลินิกของแพทย์ (นอกเหนือจากการไปพบแพทย์ประจำหรือในการตรวจสุขภาพประจำ) ในความเป็นจริง การวัดค่านอกคลินิก อาจมีความสัมพันธ์ที่ดีกว่ากับผลลัพธ์ระยะยาว

สมาคมหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association: AHA) แนะนำให้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ (Automatic) โดยรูปแบบมัดปลายแขน [Cuff-style] และต้องวาง (Place) บนแขนส่วนบน (Upper arm) ไม่ใช่ข้อมือ (Wrist) หรือนิ้ว (Finger) ขนาด (Size) ของแบบมัดขึ้นอยู่กับขนาดของแขน และการวัดที่แม่นยำ (Accurate) ต้องใช้ขนาดที่ถูกต้อง (Correct)

เมื่อตรวจวัดความดันโลหิต สิ่งสำคัญก็คือจะต้องนั่งนิ่ง (Still) หลังตรง (Straight back) พร้อมรับการหนุน [Support] (เช่นบนเก้าอี้โต๊ะกินข้าว ไม่ใช่เก้าอี้ยาวโซฟา [Couch]) และวัดค่าบนแขนเปล่า [Bare arm] (ไม่ใช่บนเสื้อผ้า) ห้ามสูบบุหรี่, ดื่มกาแฟ, หรือออกกำลังกาย (Exercise) ภายใน 30 นาทีก่อนการตรวจ ควรนั่งพักอย่างน้อย 5 นาทีก่อนการวัดค่าด้วย

หากไม่สามารถซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติได้ ทางเลือก (Alternative) หนึ่ง คือการใช้เครื่องวัดที่มีอยู่ในร้านขายยา (Drug store) หรือร้านขายของชำ (Grocery) ตัวอย่างเช่น ในเมืองพิตสเบิร์ก (Pisburg) เครือข่ายข่าว (New network) ท้องถิ่นได้ตรวจสอบเครื่องวัดความดันโลหิตจาก 10 ร้านต่างๆ เช่น Walmart, Kmart, CVS และ Rite Aid

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.